การเสียชีวิตขณะออกกำลังกายในงานวิ่งมาราธอน

การเสียชีวิตขณะออกกำลังกายในงานวิ่งมาราธอน

คุณหมอ ยันเสียชีวิตขณะออกกำลังมีน้อย เตือนนักวิ่ง ต้องรู้ตัวเอง หากมี 2 อาการต้องหยุดทันที

นายแพทย์อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา หรือหมอแอร์ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ นักวิ่งมาราธอน และนักไตรกีฬา ให้ความรู้การดูแลสุขภาพสำหรับนักวิ่ง หลังเกิดเหตุนักวิ่งเสียชีวิต 2 ราย ในรายการ วังขนายมาราธอน 2019 ความว่า เมื่อเกิดขึ้นอีก .. ก็ต้องเตือนอีกครับ “วิ่งแล้วเสียชีวิต”

1.การเสียชีวิตจากการออกกำลัง เกิดขึ้นได้ ตัวเลขประมาณ 1:80,000 ถึง 1:200,000 ของนักกีฬาที่ลงแข่ง

2.ถ้าไม่มีโรคซ่อน ยากมากๆที่จะเสียชีวิตฉับพลันขณะออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายอาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะ อื่นๆ เช่น Heat stroke เกลือแร่ผิดปกติรุนแรง กล้ามเนื้อแตกสลาย ซึ่งไม่เสียชีวิตขณะแข่งทันที

3.การเสียชีวิตฉับพลันขณะออกกำลังมาจาก โรคหัวใจเป็นหลัก อายุเกิน 35 ปี มักเป็นจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ต่ำกว่า 35 มักเกิดจาก กล้ามเนื้อหนาตัวปิดปกติ หรือ โรคทางกลุ่มหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

4.ทำไมมักไปเกิดตอนแข่งขัน เพราะมีการเร่งในการทำความเร็วและความตื่นเต้น ทำให้ระบบ Sympathetic ทำงานมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้น ร่วมกับ การเสียเหงื่อ เสียเกลือแร่ ความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้โรคที่ซ่อนอยู่ ปะทุเกิดเรื่อง นำไปสู่หัวใจขาดเลือดฉับพลันหรือกระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง

5.นักกีฬา ควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดซ้อมยังไงก็แข่งอย่างงั้น ไม่อัด ไม่ฝืน ไม่เร่ง จนเกินความสามารถร่างกาย การปะทุของโรคโดยมากมาจากการ ออกกำลังกายใน Zone สูง ซึ่งกระตุ้นให้เกิด “หัวใจขาดเลือดฉับพลัน” ได้ง่ายขึ้น ควรกินน้ำ และเกลือแร่ให้พอในการแข่งขันเกลือแร่ ไม่ควรอดน้ำ เพื่อทำเวลา การเสียน้ำ เกลือแร่ ที่มากกว่าปกติ เป็นตัวช่วยที่ทำให้เกิดโรคง่ายขึ้น

ฟังเสียงร่างกายตัวเองทุกครั้งที่แข่งขัน 2 อาการเตือนที่สำคัญ คือ
1. เจ็บ จุกแน่นหน้าอก หรือลิ้นปี่
2. เวียนหัวหน้ามืดจะเป็นลม

ถ้ามี 2 อาการนี้ ให้หยุดแข่งทันที และรีบบอกเพื่อนนักวิ่ง บอกเจ้าหน้าที่สนาม เพื่อนำส่งโรงพยาบาลไม่นั่งพักแล้วรออาการดีขึ้น เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

Credit : นายแพทย์อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา

เติมเงินขั้นต่ำ50บาท